เมนู

อิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ 2


1. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร


ว่าด้วยเรื่องทำบุญ 3 ประการ


[238] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ
สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการนี้ 3 ประการ
เป็นไฉน ? คือ ทานมัยบุญกิริยาวัตถุ 1 ภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุ 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษา
บุญนั่นแล อันให้ผลเลิศต่อไป ซึ่งมีสุข
เป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน 1 ความ
ประพฤติเสมอ 1 เมตตาจิต 1 บัณฑิต
ครั้นเจริญธรรม 3 ประการอันเป็นเหตุให้
เกิดความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก
อันไม่มีความเบียดเบียน.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพ-
เจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ 1

วรรควรรณนาที่ 2


อรรถกถาปุญญกิริยาวัตถุสูตร


พึงทราบวินิจฉัยใน ปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ 1 แห่ง วรรคที่ 2
ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุญฺญกิริยาวตฺถูนิ ความว่า กุศลทั้งหลายที่ให้เกิดผลในภพ
ที่ควรบูชา หรือชำระสันดานของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าบุญ บุญเหล่านั้น
ด้วย ชื่อว่า เป็นกิริยา เพราะต้องทำด้วยเหตุด้วยปัจจัยทั้งหลายด้วย เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยา. และบุญกิริยานั่นเอง ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ
เพราะความเป็นที่ตั้งแห่งอานิสงส์นั้น ๆ.
บทว่า ทานมยํ ได้แก่เจตนาเป็นเครื่องบริจาคไทยธรรมของตนแก่
ผู้อื่น ด้วยสามารถแห่งการอนุเคราะห์ หรือด้วยสามารถแห่งการบูชาของผู้ที่
ตัดราก คือ ภพยังไม่ขาด. ชื่อว่าทาน เพราะเป็นเหตุให้เขาให้. ทานนั่นเอง
ชื่อว่า ทานมัย. เจตนาที่เป็นไปแล้ว โดยนัยที่กล่าวแล้วในกาลทั้ง 3 คือใน
กาลอันเป็นส่วนเบื้องต้น ตั้งแต่การให้ปัจจัย 4 เหล่านั้นเกิดขึ้น 1 ในเวลา
บริจาค 1 ในการโสมนัสจิตระลึกถึงในภายหลัง (จากที่ให้แล้ว ) 1 ของผู้ให้
สิ่งนั้นๆ ในบรรดาปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น หรือในบรรดาทานวัตถุ 10 อย่าง
มีข้าวเป็นต้น หรือบรรดาอารมณ์ 6 มีรูปเป็นต้น ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ ที่
สำเร็จด้วยการให้ทาน.
บทว่า สีลมยํ ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปแล้ว แก่บุคคลผู้สมาทานศีล 5
ศีล 8 หรือศีล 10 ด้วยสามารถแห่งการกำหนดให้เป็นนิจศีล และอุโบสถ